วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 9 การติตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล


บทที่  9  การติตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล

แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่  9
1.ระบบเครือข่ายแบบ  Twisted – Pair  Ethernet  เป็นระบบเครือขายที่ทำการติดตั้และตรวจสอบระบบเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์ใดเป็นศูนย์กลาง
ก. LAN                                                                                                ข. Hup
ค. Router                                                                                          
ง. UTP
2.  จากข้อที่  1  สามารถแบ่งออกเป็นกี่มาตรฐาน
ก.  4  มาตรฐาน                                                                                   
ข.  3   มาตรฐาน
ค. 
2   มาตรฐาน                                                                                 
ง.  1    มาตรฐาน
3.  หัว  RJ45  คืออุปกรณ์อะไร
ก.  เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ข.  เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย 
UTC
ค.  เป็นหัว 
Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ง.  เป็นหัว 
Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTC
4. วิธีการตรวจเซ็กสาย   UTP  ที่เข้าขั้วต่อ  RJ45  มีกี่วิธี
ก. 
1  วิธี                                                                                                ข. 2   วิธี
ค. 
3  วิธี                                                                                                ง. 4   วิธี
5.  การติดตั้งแลนการ์ด  มี    2   วิธี คือ
ก.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Windows,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ข.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Msn- Office,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ค.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Windows,  แบบติดตั้งดดยเครื่องจักรกล
ง.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Msn- Office,  แบบติดตั้งดดยเครื่องจักรกล
6.  การใช้ทรัพยากรร่วมกันทำได้โดยวิธีการใด
ก. การจัดกลุ่ม(Grouping) 
ข.  การจัดกลุ่มงาน  (Workgroup)
ค.  การแชร์ทรัพยากร  (
Sharng)
ง.   ถูกทุกข้อ

7.   ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T  มีความยาวสูงสุดระหว่าง  Hub  กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกินเท่าไร
ก.   
10   เมตร 
ข.   100  เมตร
ค.  
150  เมตร                                                                                       ง.    200  เมตร
8.  จำนวน   Hub  ที่ใช้ใน  1  เครือข่ายจะมีได้ไม่เกินกี่ตัว
ก.  
5   ตัว
ข.  
8   ตัว
ค. 
10  ตัว                                                                                             ง.   12  ตัว
9. การเข้าสายสัญญาณชนิดไขว้สาย  เรียกว่า
ก.  การครอสโอเวอร์  (
Crossover)                                                  
ข.  การสวิตซ์  (
Switch)
ค.  การรีโหม(
Remode)                                                                               

ง.   ถูกทุกข้อ
10.  NetWork  Interface Card  หรือ NIC   นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าอะไร
ก. 
Switch  Card                                                                                
ข.   Hub  Card
ค.  
LAN  Card                                                                                  
ง.   RJ45  Connector


หน่วยที่ 9
การติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล

รูปแบบการต่อระบบเครือข่ายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน  แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป  แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะวิธีการต่อระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้ในบ้าน  องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ  ไป  ได้แก่  ระบบเครือข่ายแบบ  Twisted-pair  Ethernet  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย  ใช้ฮับ  (Hub)  เป็นศูนย์กลาง  แบ่งออกเป็น  2  มาตรฐาน
1.     มาตรฐาน  10  Base-T  เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล  10  เมกะบิตต่อวินาที  (10 
MB/Sec)
2.     มาตรฐาน  100  Base-T  เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล  100  เมกะบิตต่อวินาที 
(100 MB/Sec)  ราคาอุปกรณ์สนับสนุนมาตรฐานนี้จะสูงกว่าแบบแรงมาก
1.  การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T
        การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T  ใชการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบดาว  (Star)  อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนี้  ได้แก่
        รูปแบบการต่อระบบเครือข่ายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะวิธีการต่อระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้ในบ้าน องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบ Twisted-pair Ethernet เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย ใช้ฮับ (Hub) เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน
1.  มาตรฐาน 10 Base-T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที (10 MB/Sec)
2.  มาตรฐาน 100 Base-T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที (100 MB/Sec) ราคาอุปกรณ์สนับสนุนมาตรฐานนี้จะสูงกว่าแบบแรกมาก
การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T
        การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T ใช้การเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบดาว (Star) อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนี้ ได้แก่
        1.  สายเคเบิ้ลแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือเรียกว่า สาย UTP
        2.  การ์ดแลน (NIC) ที่ใช้หัวข้อต่อ (Connector) แบบ RJ45
        3.  หัว RJ45 (RJ45 connector) เป็นคอนเนกเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสายเคเบิ้ล UTP
        4.  ฮับ (Hub) หรือสวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อสาย UTP ที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
        ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T
        1.  จำนวนสูงสุดของเซกเมนต์สามารถต่อได้ 5 เซกเมนต์
        2.  ความยาวสูงสุดระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไม่เกิน 100 เมตร
        3.  จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายต่อ 1 เซกเมนต์เท่ากับ 512 ตัว
        4.  จำนวนฮับที่สามารถวางซ้อนกันได้ไม่เกิน 4 ตัว
        5.  จำนวนฮับที่ใช้ในเครือข่าย 1 เครือข่าย ไม่เกิน 12 ตัว
วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
        1.  นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านออกยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เมื่อปอกแล้วจะพอเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลียวแยกสีไว้อย่างชัดเจน
        2.  คลายเกลียวที่สายออก แล้วเรียงสายตามสีที่กำหนด การเชื่อมต่อสายสัญญาณเราสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ
                2.1  การเชื่อมต่อสายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้ากับ Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้านรูปแสดงการเรียงสีของสาย UTP ชนิดที่เชื่อต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps
2.2   การเชื่อมต่อสายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์ต่อแบบนี้จะมีการเรียงเพื่อเข้าขั้ว RJ45 แบบไขว้สาย
        3.  เมื่อเรียงสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.
        4.  เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้วเข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45
        5.  เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้เมือบีบด้ามคีมให้แน่นโลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับเส้นลวดทองแดงของสาย UTP ข้อควรระวังการดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน
วิธีการตรวจเช็กสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
1.  วิธีการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Cable Tester UTP
        1.1  นำปลายสายทั้งสองข้างที่เข้าขั้ว RJ45 เรียบร้อยแล้วเสียบเข้าที่เครื่องมือวัด (Cable Tester UTP)
        1.2  เปิดสวิตช์ Power ของเครื่องมือวัด
        1.3  ถ้าการเข้าหัวต่อ RJ45 ถูกต้องและสายไม่ชอร์ตหรือขาด หลอดไฟ LED จะสว่างทั้ง 4 ดวงเป็นลักษณะเหมือนไฟวิ่ง
        1.4  กดสวิตช์ GND ที่เครื่องมือวัด
        1.5  หลอดไฟ LED ดวงที่สอง (ขั้นที่ 3 หรือ 6) จะดับ หลอดอื่นยังคงสว่างไนลักษณะเหมือนไฟวิ่งอยู่
        1.6  ถ้าเป็นลักษณะที่ต่างไปจากนี้ แสดงว่าอาจเข้าหัวต่อ RJ45 ไม่สนิท สายขาดใน หรือเรียงสายทั้งสองขั้นไม่ตรงกัน
2.  วิธีการตรวจสอบสายจากการ์ดแลน (ใช้กับการ์ดแลนในรุ่นที่มีหลอดไฟ LED โชว์)
        2.1  นำสายที่เข้าหัว RJ45 แล้ว เสียบปลายทั้งสองด้านเข้าที่การ์ดแลนและ Hub
        2.2  เปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์และ Hub เพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าอุปกรณ์ทั้งสอง
        2.3  ถ้าหลอด LED ที่เขียนว่า Link สว่าง แสดงว่าการเข้าหัว RJ45 และสายปกติ
วิธีการติดตั้งการ์ดแลน (Network Interface Card : NIC)
        การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) นิยมเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าการ์ดแลน (LAN Card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องอื่น ๆ การติดตั้งจำเป็นต้องเสียบการ์ดแลนลงไปในช่องเสียบ (Slot) ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
        การเตรียมก่อนการติดตั้ง
        1.  ปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down ปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์
        2.  ถอดปลั๊กไฟออกให้หมด เพื่อความปลอดภัย
        3.  เสียบการ์ดแลนลงในช่องเสียบให้ถูกต้องกับชนิดของการ์ดแลนและช่องเสียบ
        4.  ต่อสายแลนเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย
        การติดตั้งโปรแกรมการ์ดแลน
1.  การติดตั้งการ์ดแลนโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP แบบอัตโนมัติ
        1.1  หลังจากปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down ปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ถอดปลั๊กไฟออกให้หมด เพื่อความปลอดภัยและทำการเสียบการ์ดแลนลงในช่องเสียบให้ถูกต้องกับชนิดของการ์ดแลนและช่องเสียบ
        1.2  เปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ รอสักครู่หนึ่งโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP ก็จะทำการค้นหาและติดตั้งการ์ดแลนโดยอัตโนมัติ ดังรูป
        1.3  โปรแกรมจะทำการค้นหาไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ ให้คลิกปุ่ม Next
        1.4  เลือกตัวเลือก Yes จากนั้นคลิกปุ่ม Next
2.  ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลนโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP แบบกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง
ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลนตามตัวอย่างนี้ให้กับการติดตั้งในระบบปฏิบัติการ Windows 98 แบบกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง
        2.1  คลิกปุ่ม Start > Control Panel และดับเบิ้ลคลิกไอคอน Add Hardware
        2.2  คลิก Next เพื่อค้นหารายการอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง Driver สำหรับใช้งาน
        2.3  โปรแกรมจะทำการค้นหาไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ ให้คลิกปุ่ม Next
        2.4  เลือกตัวเลือก No จากนั้นคลิกปุ่ม Next
        2.5  เลือกรายการอุปกรณ์ที่ต้องการติดตั้งจากรายการ Install hardware ในที่นี้คือการ์ดแลนด์ และคลิก Next
        2.6  เลือกรายการอุปกรณ์การ์ดแลนด์ ให้ตรงกับรุ่นที่ติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์และคลิกปุ่ม Finish
3.  สำหรับในการติดตั้งอุปกรณ์ในระบบปฏิบัติการ Windows XP นั้น  ระบบสามารถติดตั้ง Drier แบบ Compatible กับรุ่นของอุปกรณ์นั้นแทนสามารถใช้งานได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงควรติดตั้ง Driver ให้ตรงกับรุ่นที่ใช้งานจริงด้วยการ Update Driver ดังขั้นตอนต่อไปนี้
        3.1  เปิดไอคอน System ในหน้าต่าง Control panel และคลิกปุ่ม Device Manager
        3.2  จากหน้าต่าง Device Manager เลือกรายการอุปกรณ์ที่ต้องการ Update ในที่นี้คืออุปกรณ์ Network adapters คลิกขวาที่รายการและเลือก Update Driver…
        3.3  คลิกเลือก Install from a list or specific location (Advanced) และคลิกปุ่ม Next
        3.4  เลือกรายการ Update Driver โดยการให้ค้นหาเองอัตโนมัติในแผ่น CD-ROM โดยเลือก Search removable media หรือระบุตำแหน่ง path ของ Driver ด้วย Include this location search และคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือก path
        3.5  ระบบจะค้นหา Update Driver ใหม่ จากการค้นหาในแผ่น CD-ROM หรือ path ที่ระบุไว้ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอน
4.  หลังจากที่ได้ติดตั้งการ์ดแลนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายอื่น ๆ ต้องทำการติดตั้งโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายนั้นให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายนั้นได้ ซึ่งโดยปกติในการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล TCP/IP หากต้องการโปรโตคอลอื่น ๆ สามารถติดตั้งเพิ่มได้ดังนี้
        4.1  จากหน้าต่าง Network Connections เลือก Connection ของการ์ดแลนที่ต้องการเพิ่มโปรโตคอลแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือกรายการ Properties
        4.2  คลิกปุ่ม Install จะปรากฏหน้าต่าง Select Network Component Type เพื่อเลือก Component m ต้องการติดตั้งเพิ่มเติม ซึ่งเราต้องการเพิ่มเต็มโปรโตคอลใหม่ ให้เลือก Protocol แล้วคลิกปุ่ม Add…
        4.3  เลือกโปรโตคอลที่ต้องการเพิ่มเติม เช่น ต้องการเพิ่มโปรโตคอล IPX/SPX/NetBIOS แล้วคลิก OK
        4.4  ระบบ Windows XP จะมีโปรโตคอล IPX/SPX/NetBIOS เพิ่มเติมเพื่อใช้ติดต่อกับระบบเครือข่ายเดียวกับ IPX/SPX อื่นได้

การติดตั้งค่า IP Address ของการ์ดแลน
1.  หลังจากทำการติดตั้ง Lan Card ตามคู่มือของ Lan Card จากหน้าต่าง Network Connections เลือก Connection ของการ์ดแลนที่ต้องการเพิ่มโปรโตคอลแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือกรายการ Properties เลือกรายการ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกปุ่ม Properties
2.  จากหน้าต่างด้านล่างเราสามารถสร้าง IP Address ได้ 2 แบบด้วยกันคือการใช้ระบบ DHCP คือจะเป็นการให้ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อหน้ากำหนดหมายเลข IP Address ให้อัตโนมัติหรือวิธีที่ 2 กำหนดหมายเลข IP Address แบบคงที่ ดังในตัวอย่างกำหนดเป็นหมายเลข 192.168.0.11
        โดย IP Address แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องที่ 1 เป็น 192.168.0.1 เครื่องที่ 2 เป็น 192.168.0.2 เครื่องที่ 3 เป็น 192.168.0.3 ไปเรื่อย ๆ  แต่ค่า Subnet Mask ให้เหมือนกันทุกเครื่องค่าของ IP Address ใช้ค่าอะไรก็ได้ที่อยู่ในช่วงของ Private IP Ranges The Private IP Ranges That Will Not be Allocated on the Internet are : 10.0.0.0 to 10.255.255.255 Class A 172.16.0.0 to 172.31.255.255 Class B 192.168.0.0 to 192.168.255.255 Class C Do Not Choose an IP Range That is Not on This list. Also Note That 0 and 255 are Reserved in Any Cass. แล้วที่สำคัญอย่าลืมที่ Workgroup ของทุกเครื่องต้องเป็นชื่อเดียวกัน ถ้าเป็นคนละชื่อจะมองไม่เห็นกัน
3.  หรือเข้าดูที่ Stat > Search
4.  Click ที่ Computer or people และเลือก A computer on the network
5.  พิมพ์ชื่อคอมพิวเตอร์ที่ต้องการค้นหา เช่น 517-03 แล้วคลิกปุ่ม Search
6.  หากค้นหาพบจะปรากฏไอคอนคอมพิวเตอร์ที่ต้องการค้นหา
        ถึงเครื่องจะมองเห็นกันแล้ว แต่การจะใช้ Files, Driver, Printer ร่วมกันได้ เราต้องทำการ Sharing ก่อนหมายเหตุ  ในขั้นตอนต่าง ๆ อาจมีการสั่งให้ Restart หรือ ต้องการแผ่น CD-ROM Windows ด้วย
การตรวจสอบระบบเครือข่าย TCP/IP Protocol
1.  Click ขวา ที่ My Computer เลือก Properties --> Device Manager
     ดูว่า Lan Card ที่เราติดตั้งมีเครื่องหมาย ! อยู่ข้างหน้าหรือเปล่า ถ้ามี ให้ Remove แล้ว Setup ใหม่
2.  การ Ping IP Address ของตัวเอง [ในที่นี้คือ 192.168.0.1] ถ้าไม่มีการตอบกลับ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ Network Card เช่น IRQ, IO Address
3.  การ Ping IP Address ของเครื่องอื่น [เช่น 192.168.0.3] ถ้าไม่มีการตอบกลับ แสดงว่าเครื่อง 092.168.0.3 เสีย หรือ ปิดอยู่
4.  ถ้ามีการตอบกลับก็แสดงว่าปกติ
5.  หรือกรณีอาจมีปัญหากับสาย
Cable หรือ ขั้ว BNC หลวม คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบความจริงแล้วมีมากกว่านี้ [ดูข้างล่าง]
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
        การแชร์ทรัพยากร (Sharing) คือ การกำหนดทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถใช้ร่วมกับผู้อื่นในเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์โฟลเดอร์ การแชร์ไฟล์ การแชร์เครื่องพิมพ์ หรือการแชร์ทรัพยากรอื่น ๆ
        ขั้นตอนการแชร์ข้อมูล
        1.  คลิกขวาที่ Start เลือกคำสั่ง Explore
        2.  คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่เลือกเพื่อแชร์ข้อมูล จะปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Sharing
        3.  คลิกปุ่ม Share this folder on the network และระบุชื่อของโฟล์เดอร์ในการ Share ให้เครื่องอื่น ๆ มองเห็นได้ เช่น DataFile ซึ่งเป็นชื่อเดียวกบโฟลเดอร์ที่ทำการ Share
        4.  ให้สังเกตง่าย ๆ ว่าโฟลเดอร์ใดมีการแชร์ข้อมูลในเครือข่าย ตรงไอคอนของโฟลเดอร์นั้นจะมีรูปมืออยู่ด้านล่าง ดังตัวอย่าง การแชร์ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะเลือกแชร์เป็นบางไฟล์ บางโฟลเดอร์ หรือแชร์ทั้งหมดก็ได้
        การยกเลิกการแชร์ข้อมูล
        ถ้าต้องการยกเลิกการแชร์ข้อมูล หรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นในเครือข่ายเข้ามาใช้ไฟล์ร่วมกัน มีวิธีดังนี้
        ที่ไดอะล็อกบ็อกซ์ Properties ในช่องแท็บ Sharing ให้คลิกตัวเลือก Not Shared และคลิกปุ่ม OK (รูปมืออยู่ด้านล่างของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นก็จะหายไป)
Network Neighborhood
        My Network Places ใช้สำหรับการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครือข่ายในสำนักงานเดียวกัน หรือที่เรียกว่า Lan เพื่อจะได้ถ่ายโอนข้อมูลหรือใช้โปรแกรมร่วมกันได้อย่างสะดวก ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์สำคัญคือ Lan Card ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง และเชื่อมต่อสายรับ-ส่งข้อมูลให้ต่อถึงกันหมดทุกเครื่อง
        การใช้ My Network Places
        1.  คลิกที่ไอคอน My Network Places > Microsoft Windows Network จะปรากฏชื่อของกลุ่มเครือข่ายที่พบในระบบทั้งหมด จากนั้นคลิกชื่อกลุ่มเครือข่าย ที่ต้องการหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนั้นเปิดอยู่ก็จะพบและเข้าใช้งานในโฟลเดอร์ที่ Share ไว้ได้
สรุป
        การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในบ้าน องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ ไป ได้เช่าระบบเครือข่าย Twisted-pair Enternet เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย ๆ ใช้ฮับ (Hub) เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน
1. มาตรฐาน 10 Base-T 2. มาตรฐาน 100 Base-Tอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ ได้แก่
        1.  สายเคเบิ้ลแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair)
        2.  การ์ดแลน ที่ใช้หัวต่อแบบ RJ45
        3.  หัวต่อ RJ45 (RJ45 Connector)
        4.  ฮับ (Hub) หรือ สวิตช์ (Switch)
        การเชื่อมต่อระบบสามารถให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้โดยการแชร์ทรัพยากร (Sharing) เช่น การแชร์โฟลเดอร์ การแชร์ไฟล์ การแชร์เครื่องพิมพ์หรือทรัพยากรอื่น ๆ
 

 





จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
1.     ระบบเครือข่ายแบบ Twisted – Pair  Ethernet  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์ใดเป็นศูนย์กลาง
ก.     LAN
ข.     Hub
ค.     Router
ง.      UTP
2.     จากข้อที่ 1  สามารถแบ่งออกเป็นกี่มาตรฐาน
ก.     4  มาตรฐาน
ข.     3  มาตรฐาน
ค.     2  มาตรฐาน
ง.      1  มาตรฐาน
3.     หัว RJ-45  คืออุปกรณ์อะไร
ก.     เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ข.     เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UPC
ค.     เป็นหัว  Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ง.      เป็นหัว  Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UPC
4.     วิธีการตรวจเช็กสาย  UTP  ที่เข้าขั้วต่อ  RJ-45  มีกี่วิธี
ก.     1 วิธี
ข.     2 วิธี
ค.     3 วิธี
ง.      4 วิธี
5.     การติดตั้งแลนการ์ด  มี  2  วิธี  คือ
ก.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  Windows,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ข.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  MS-Office,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ค.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  Windows,  แบบติดตั้งโดยเครื่องจักรกล
ง.      แบบอัตโนมัติโดยระบบ  MS-Office, แบบติดตั้งโดยเครื่องจักรกล
6.     การใช้ทรัพยากรร่วมกันทำได้โดยวิธีการใดบ้าง
ก.     การจัดกลุ่ม  (Grouping)
ข.     การจัดกลุ่มงาน  (Workgroup)
ค.     การแชร์ทรัพยากร  (Sharing)
ง.      ถูกทุกข้อ
7.     ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ  10  Base – T  มีความยาวสูงสุดระหว่าง  Hub  กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกินเท่าไร
ก.     10  เมตร
ข.     100  เมตร
ค.     150  เมตร
ง.      200  เมตร
8.     จำนวน  Hub  ที่ใช้ใน  1  เครือข่ายจะมีได้ไม่เกินกี่ตัว
ก.     5  ตัว
ข.     8  ตัว
ค.     10  ตัว
ง.      12  ตัว
9.     การเข้าสายสัญญาณชนิดไขว้สาย  เรียกว่า
ก.     การครอสโอเวอร์  (Crossover)
ข.     การสวิตซ์  (Switch)
ค.     การรีโหมด  (Remode)
ง.      ถูกทุกข้อ
10.Network  Interface  Card  หรือ  NIC  นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าอะไร
ก.     Switch  Card
ข.     Hub  Card
ค.     LAN  Card
ง.      RJ-45  Connector
11.การทำงานของ  Multiplexer  มีกี่วิธี
ก.     2  วิธี
ข.     3  วิธี
ค.     4  วิธี
ง.      5  วิธี
12.วิธี  TDMA  เป็นวิธีการแบบใด
ก.      จะแบ่งช่องทางการสื่อสารให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละช่วงเวลา
ข.     จะแบ่งช่องของเฟรมข้อมูลให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละช่วงเวลา
ค.     จะแบ่งช่องทางการสื่อสารให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละเครือข่าย
ง.      จะแบ่งช่องของเฟรมข้อมูลให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละเครือข่าย
13.ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์  มีกี่ข้อ
ก.     2  ข้อ
ข.     3  ข้อ
ค.     4  ข้อ
ง.      5  ข้อ
14.หน้าที่หลักของบริดจ์  คือ
ก.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากโหนดหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง
ข.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากเครื่องหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ค.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกพอร์ตหนึ่ง
ง.      ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจาก  LAN  หนึ่งเพื่อส่งไปยังอีก  LAN  หนึ่ง
15.ฮับ  (Hub)  มีหน้าที่อะไร
ก.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์
ข.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์
ค.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างพอร์ตและพอร์ต
ง.      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์และพอร์ต


เฉลย
                                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น