วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การบริหารจัดการระบบเครือข่าย

                                                                 แบบประเมินผลกรเรียนรู้หน่วยที่  8
1.SNMP   มีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญกี่ฟังก์ชัน
.   1     ฟังก์ชัน
.   2    ฟังก์ชัน
.   3    ฟังก์ชัน
.   4    ฟังก์ชัน
2. ฟังก์ชันของ  SNMP 
.   จะคอยตรวจสอบอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่สื่อสารอยู่บน  SNMP
.   จะคอยตรวจสอบโปรแกรมที่ใช้ในการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก
.   จะคอยตรวจสอบโปรโตคอลที่ใช้ในการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก
.    ถูกทุกข้อ

3.MIB  ย่อมมาจากคำว่าอะไร
.   Memory  Information  Base
.   Memory  Interface  Bridger
.   Management  Interface  Base
.    Management  Information  Base
4. โปรแกรมรักษาควมปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิทธิหรือลำดับความสำคัญจะถูกแบ่งเป็นกี่ระดับ
.     2     ระดับ
.     3     ระดับ
.     4    ระดับ
.      5     ระดับ
5.  การป้องกันกระแสไฟฟ้ามีอุปกรณ์หลักกี่ชนิด
.    2   ชนิด
.    3   ชนิด
.    4   ชนิด
.     5   ชนิด

6.  ประเภทของการสำรองข้อมูลมีกี่ประเภท
.      2       ประเภท
.      3       ประเภท
.      4       ประเภท
.      5       ประเภท
7.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการในการสำรองข้อมูลในเน็ตเวิร์ก
.     Full  Backup
.     Incremental  Backup
.     Backup  Combinations
.     Database
8.     Full  Backup  เป็นการคัดลอกไฟล์และไดเร็กทอรี่ทั้งหมของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำด้กี่ทาง
.      2      ทาง
.      3      ทาง
.     4      ทาง
.      5      ทาง
9.   UPS   ย่อมาจากคำว่าอะไร
.    Use  Protection  Supply
.    User  Protection
.    Uninterupted  Power  Supply
.     Uninterupted  Publie  Server
10.   ม้าโทรจัน  (Trojan  Horses)   เป็นไวรัสประเภทใด
.    ประเภททำลายตัวเอง
.    ประเภทปาย
.    ประเภทกลายพันธุ์
.     ประเภทก่อกวน


เฉลย












  บทที่ 8
การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
(Network Management)

7.1 SNMP
7.2 ความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก (Networle Secunty)

การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
           การบริหารจัดการเน็ตเวิร์กจัดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับองค์กรที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นแบบเครือข่าย แต่มันมักจะถูกสนใจเป็นอันดับท้าย ๆ หรือจนหว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นในระบบ เน็ตเวิร์กแต่จริง ๆ แล้ว การบริหารจัดการเน็ตเวิร์กมีความสำคัญและจำเป็นตั้งแต่เริ่มออกแบบระบบเน็ตเวิร์กจนถึงขั้นตอนการติดตั้งใช้งานและมีการขยายเน็ตเวิร์ก ล้วนต้องการเทคนิคและเครื่องมือในการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ซึ่งในบทนี้ เป็นการแนะนำให้รู้จักการบริหารจัดการเน็ตเวิร์ก (Network Management) ในเบื้องต้น

7.1 SNMP
           The Simple Network Management Protocol (SNMP) เป็นโปรโตคอลที่ทำให้ผู้ดูแล เน็ตเวิร์ก(Network Manager) สามารถตรวจสอบการทำงานของเน็ตเวิร์กได้อย่างต่อเนื่องและสามารถใช้งานกับเครื่องมือบริหารจัดการเครือข่ายของหลายค่ายดังแสดงในตารางต่อไปและยังสามารถใช้กับอุปกรณ์เครือข่ายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น File Server, Network Interface Card (NIC), Renters, Repeaters, Bridger และ Hub เป็นต้น การทำงานของ SNMP นั้นจะทำงานเป็นอิสระจากเน็ตเวิร์ก หมายความว่าการทำงานจะไม่ขึ้นอยู่กับ Protocal ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง เน็ตเวิร์ก ทำให้ SNMP สามารถวิเคราะห์การทำงานของเน็ตเวิร์ก เช่น แพกเก็ตที่ไม่สมบูรณ์ หรือ การ Broadcast โดยไม่จำเป็นต้องรู้ข้อมูลของแต่ละ Node ที่ติดต่อสื่อสารกัน นอกจากนี้ การทำงานของ SNMP ยังใช้หน่วยความจำ (Memory) ไม่มากนัก


ตัวอย่างอุปกรณ์การบริหารจัดการเครือข่ายที่ใช้ SNMP

การทำงาน SNMP

SNMP มีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญ 2 ฟังก์ชันคือ Network Management Station (NMS) และ Network Agents NMS จะคอยตรวจสอบ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ที่สื่อสารอยู่บน SNMP ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้น agent software ทำงานอยู่เพื่อคอยติดต่อกับ NMS ซึ่งอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่เป็น Network Agent ได้แก่ routers, repeaters, hubs, bridger, PC ที่มี NIC ประกอบอยู่ print server, communications servers และ UPSsผู้ดูและเน็ตเวิร์ก สามารรถตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์เน็ตเวิร์กผ่านทาง NMS สามารถที่จะตรวจจับได้ว่ามี agent ใด agent หนึ่งเกิด down โดย agent นั้นอาจจะมีการแสดงเป็นสีแดงหรือมีสัญญาณเตือน ซึ่ง NMS ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น GUI ซึ่งง่ายต่อการใช้งานแต่ละ agent จะมีการปรับปรุงฐานข้อมูลของตัวเอง เช่น จำนวนแพกเกจที่ส่งออกไปจำนวนแพกเกจที่รับเข้ามา แพกเกจที่ผิดพลาด และจำนวนการเชื่อมต่อ ลงบนฐานข้อมูลของ agent ที่เรียกว่า Management Information Base (MIB)


NMS ทำการตรวจสอบการทำงานของ Bridge และ Hub

Management Information Base (MIB)
   MIB จะเก็บข้อมูลของแต่ละ Network Object เช่น Bridge, routers, hubs และ Repeater.
มาตรฐานของ MIB นั้น เริ่มแรกจะเป็นมาตรฐาน MIB - I (Management Information Base - I) ซึ่งถูกกำหนดโดย Internet Engineering Task Force (IETF) โดยมาตรฐาน MIB - I จะมีกลุ่มของตัวแปรในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังแสดงในตาราง





มาตรฐานที่ 2 MIB - II ถูกปรับปรุงมาจาก MIB - I ซึ่งได้มีการปรับปรุงเรื่องของความปลอดภัย (Security) การให้สามารถใช้งานกับเน็ตเวิร์กแบบ Token ring ได้และสามารถใช้งานกับ High - speed Interface และ Telecommunication Interface

7.2 ความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก (Network Security)
ความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์กเข้ามามีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการเน็ตเวิร์กเนื่องจากระบบเน็ตเวิร์กได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานหลัก (BusinessCove)ขององค์กรการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก มีหน้าที่รวมไปถึง การลดระยะเวลาของการ down ของเน็ตเวิร์กให้น้อยที่สุด (Minimizing Downtime) การลดการสูญหายของข้อมูลทั้งจาก ภัยธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ ซึ่งในการจัดการเรื่องความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก ผู้บริหารจัดการเน็ตเวิร์กจะต้องมีการปฏิบัติในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
- พาสเวิร์ด และการปรับปรุงพาสเวิร์ด (Password and Password Maintenance)
- การจัดการสิทธิในการเข้าระบบ (Access privilege Management)
- การเข้ารหัส (Encryption)
- การป้องกันทางด้านระบบไฟฟ้า (Power Protection)
- การแบกอัพระบบ และข้อมูล (System and Data Backups)
- ไฟล์วอล (Firewalls)
- การตรวจสอบไวรัน (Virus Monitoring)
- การป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติ (Diaster Recovery)

Network Passwording
ผู้ใช้งานอยู่ในเน็ตเวิร์ก ควรจะต้องมี account และ Password ในการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเน็ตเวิร์ก ซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นเราอาจเรียกเป็น เน็ตเวิร์กโหนด (Network Node) ซึ่งก็มีหลายประเภท ในแต่ละประเภทก็จะมี account และ password ที่แตกต่างกันอีกทั้งระดับความสำคัญของ password ของ account แต่ละคนก็มีไม่เท่ากันด้วย ดังตารางต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของ Network Node และประเภทของ password


Access Privilege Management

ผู้บริหารจัดการระบบเน็ตเวิร์กจะต้องสามารถกำหนดสิทธิและลำดับความสำคัญของผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้ในการที่จะเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆในเน็ตเวิร์ก (Access Privilege) โดยการกำหนดผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของ OS หรือ โปรแกรมรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิทธิหรือลำดับความสำคัญจะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกันระดับที่ 1 เป็นการกำหนดผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้ในการอนุญาตให้เข้าไปใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในเน็ตเวิร์ก เช่น ระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์อนุญาตให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือกำหนดเป็นกลุ่มผู้ใช้ เช่น payroll group คือกลุ่มของสมาชิกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางด้าน payroll ได้ ฯลฯระดับที่ 2 เป็นการกำหนดความสามารถในการใช้งานทรัพยากรของผู้ใช้แต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม เช่น
- read only
- write / update
- program execute
- file creation/deletiong
ระดับที่ 3 เป็นการกำหนดสิทธิสำหรับผู้ที่สามารถเข้าถึงไดเร็กทรอรี่พิเศษ (Specific Directories) หรือไลบารี่ (libraries) ได้ Encryption สืบเนื่องมาจากการที่ hacker นำ Network Interface และซอฟต์แวร์มาใช้ ในการดักจับ แพกเกจบนเน็ตเวิร์ก ทำให้สามารถล่วงรู้ถึง user ID และ Password ของสมาชิกของเครือข่ายได้ และบางครั้งยังสามารถรู้ถึงข้อมูลที่เป็นความลับต่าง ๆ เช่น ข้อมูล Credit card หรือ เลขบัญชีธนาคาร เทคนิคในการเข้ารหัสจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการที่จะป้องกันข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ ที่วิ่งอยู่บนเน็ตเวิร์ก วิธีการพื้นฐานในการเข้ารหัสข้อมูลคือการสร้าง กัญแจ (key) key เป็นรหัสดิจิตอล(Digital Code) หรือพาสเวิร์ด ที่จะรุ้กับเพียงฝั่งผู้ส่งและฝั่งผู้รับ เช่น เทคนิค public - key Encryption ซึ่งจะแบ่ง key เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะถูกเผยแพร่ในไดเร็กทรอรี่ที่สามารถเข้าถึงจาก Node ทั้งหมดใน เน็ตเวิร์ก ส่วนที่สองจะถูกเก็บไว้อย่างเป็นความลับโดย Node ผู้ส่ง และ Node ผู้รับ ซึ่งผู้รับจะต้องทราบส่วนของ key ทั้ง 2 ก่อนที่จะทำการถอดรหัสข้อมูลสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีนานาชาติ (The National Institute of Standard and Technology : NIST) และบริษัท IBM ได้สร้างวิธีการในการเข้ารหัสที่เรียกว่า Data Encryption Standard (DES) โดยวิธีการเข้ารหัสดังกล่าวใช้การเข้ารหัสแบบ 56 ดิจิต และ 112 ดิจิต โดยครึ่งหนึ่งใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลส่วนที่เหลือถูกใช้ในการถอดรหัสข้อมูลที่ได้รับ Power Protectionอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเน็ตเวิร์กทุกชนิดต้องการกระแสไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักในการทำงาน การป้องกันกระแสไฟฟ้ามีอุปกรณ์หลัก 2 ชนิด คือ Clean Power และ Uninterrupted Power
- Clean Power ทำหน้าที่ในการกรองและรักษาระดับสัญญาณไฟฟ้า ป้องกันการกระชากของกระแสไฟฟ้า (Power Surges) และป้องกันไฟตก (Voltage Drop) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ต่าง ๆ ในเน็ตเวิร์กไม่ว่าจะเป็น File Server, Host, Computers, hub และ Routers.
- Uninterrupted Power Supply (UPS) เป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบเน็ตเวิร์ก UPS เป็นอุปกรณ์ในการสำรองกระแสไฟฟ้าในกรณีที่กระแสไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถจ่ายไฟได้ โดยภายใน UPS จะมีแบตเตอรี่รี่ที่มีคุณสมบัติในการชาร์ตไฟใหม่ได้ (Rechargeable)

System and Data Backups
ข้อมูลจัดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับระบบงานภายในองค์กรความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดสามารถสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นได้การสำรองข้อมูล (BackUp) จึงเข้ามาเป็นสิ่งจำเป็นในด้านการสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย และยิ่งเพิ่มความสำคัญขึ้นทุกขณะ ประเภทของการสำรองข้อมูลมีดังนี้
1. File Backups เป็นการสำรองข้อมูลที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารเวร์ด สเปรชชีต หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนเครื่อง Server, Host หรือแม้กระทั่งบนเครื่อง PC
2. Database Backups เป็นการสำรองข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล เช่น Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server, Informix เป็นต้น
3. System File ใน Host และ Server Computers จะมีไดเร็กทอรี่ที่เก็บไฟล์และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อระบบปฏิบัติการซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้อง BackUp ไว้เพื่อนำมาใช้หากเกิดความเสียหายขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว
4. System files ของอุปกรณ์เหล่านี้จะมีระบบปฏิบัติการ ข้อมูล และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ถูก comfit ขึ้นเพื่อให้การทำงานถูกต้องซึ่งจะต้องมีการสำรองสิ่งเหล่านี้ไว้

Backup Methods
วิธีการในการสำรองข้อมูลในเน็ตเวิร์กมี 3 วิธีด้วยกันคือ Full Backup, Incremental backups และ Backup Combinations
1. Full Backup เป็นการคัดลอกไฟล์แลไดเร็กทรอรี่ทั้งหมด ขนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำได้ 2 ทาง คือ
- การทำ Image backup เปรียบเสมือนภาพเงาบนกระจก (Mirror Image) แต่เป็นภาพเงาของข้อมูลที่อยู่ในรูปทรงเลขฐานสอง ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดี คือ การ backup และการ restore สามารถทำได้
อย่างรวดเร็ว และใช้จำนวน Tape backup น้อย ส่วนข้อเสียของวิธีการนี้ ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บรวบรวมไว้ใน image file หากเราต้องการ restore ไฟล์เพียงไฟล์เดียวหรือบางไฟล์ จะต้องเสียเวลาในการ restore ไฟล์ทั้งหมด
- file-by-file-backup วิธีการนี้จะคัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดเร็กทรอรี่และในไดเร็กทรอรี่ย่อยซึ่งประโยชน์
ของวิธีการนี้คือถ้าต้องการ restore เพียงบางไฟล์หรือไดเร็กทรอรี่สามารถเลือกได้และทำได้อย่างรวดเร็ว แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ ใช้เวลาในการ backup นาน
2. Incremental backups เป็นการ Backup เฉพาะส่วนที่เพิ่มเติม หรือส่วนที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง ซึ่งเทคนิคนี้ จะทำการ backup เฉพาะบางส่วนในแต่ละเวลา เช่น ผู้ดูและระบบกำหนดให้มีการ backup ข้อมูล Payroll เฉพาะวันจันทร์ อังคาร พฤหัส และ เสาร์ การ back up ก็จะเริ่มทำขึ้นในวันจันทร์ พอถึงวันอังคารก็จะทำการ back up เฉพาะส่วนที่เพิ่มเติมจากวันจันทร์เท่านั้น และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงวันเสาร์

3.Backup Combinations ผู้ดูแลระบบส่วนใหญ่จะใช้การ back up ข้อมูลทั้ง 2 รูปแบบรวมกัน เช่น ใช้การ back up แบบ Full Back up 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในวันที่ธุรกิจไม่ยุ่งนักเช่นวันอาทิตย์ ส่วนอีก 6 วันที่เหลือจะใช้การ Incremental backups


Component Failures
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกชนิดจะเสียหายได้เสมอ ซึ่งความเสียหายมักทำให้อุปกรณ์ชนิดนั้น ไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งสาเหตุความเสียหายมีด้วยกันหลายสาเหตุเช่นการเคลื่อนย้าย,ไฟกระชาก,ไฟดับการตกหล่นหรืออาจจะเป็นการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

System Fault Tolerance
การป้องกันที่ดีอย่างหนึ่งของปัญหาที่เกิดจาก Hardware failure คือการทำ System fault tolerance ซึ่งจะเป็นลักษณะการสร้างเป็น redundant hardware components ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเสียหายของ Disk อาจจะใช้วิธีการติดตั้ง back up disk และการติดตั้ง RAID Disk
1. Backup Disks File Server ส่วนใหญ่จะบังคับให้ผู้บริหารจัดการเน็ตเวิร์กทำการติดตั้ง Disk เก็บข้อมูลอย่างน้อย 2 ตัว ต่อแรกทำหน้าที่เป็น Primary Disk ตัวที่ 2 เป็น Backup Disk โดย Backup Disk จะทำงานขึ้นมาแทน Primary Disk โดยอัตโนมัติหาก Primary Disk เกิดความเสียหาย นอกจากนี้ข้อมูลที่ถูกบันทึกลงใน Primary Disk แล้วก็ยังถูกบันทึกลง Backup Disk ด้วยเช่นกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะกระทำโดยระบบปฏิบัติการ เช่น ในระบบปฏิบัติการ Unix, VMS และ MVS เราเรียกว่าการทำ Disk Shadowing แต่ถ้าเป็นระบบปฏิบัติการ Novell และ Microsoft เราจะเรียกว่า
Disk Mirroring
2. RAID drives ย่อมาจาก Redundant Array of Inexpensive Disk เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ในการทำ fault tolerant ของ DiskEquipment Spare
เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารจัดการเน็ตเวิร์กคือการเตรียมอุปกรณ์สำรองสำหรับอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่าง ๆ เพื่อสามารถนำมาใช้ได้ทันทีเมื่ออุปกรณ์เกิดความเสียหายทำให้การดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก

Virus Monitoring
ไวรัส คือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น work - station หรือ Server ไวรัสในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น
1. ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่เขียนขึ้นให้สามารถจัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียนแบบสิ่งมีชีวิต คือ เจริญเติบโตได้เอง สามารถอยู่รอดได้ด้วยการอำพลางตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถสำเนาตัวเองให้แพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านตัวกลางที่เป็นพาหนะ เช่น การสำเนาด้วยแผ่นดิส์เก็ตระหว่างเครื่อง หรือการสำเนาผ่านระบบเครือข่าย
2. ม้าโทรจัน (TrojanHorses) เป็นไวรัสประเภทสปาย (SPY) ที่จะคอยล้วงความลับจากเครื่องของเราส่งไป
ให้ผู้เขียนโปรแกรม ความลับดังกล่าว เช่น User Name, Password, Credit Card ID
3. ไวรัสประเภทกลายพันธ์ (Worm) เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเองไปเรื่อย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับและสามารถซ่อนตัวเองอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์วิธีการในป้องกันไวรัส มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่วิธีนี้นิยมใช้กันคือการใช้ซอฟต์แวร์ Anti Virus ในการสแกนหา ไวรัสที่ฝังตัวในระบบและทำการกำจัด นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ Anti Virus บางตัวยังทำหน้าที่ เหมือนยามรักษาความปลอดภัยคอยแจ้งเตือนการโจมตีของไวรัส ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบใด




แบบประเมินผลกรเรียนรู้หน่วยที่  8
1.SNMP   มีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญกี่ฟังก์ชัน
.  1       ฟังก์ชัน
.   2      ฟังก์ชัน
.   3      ฟังก์ชัน
.    4      ฟังก์ชัน


2. ฟังก์ชันของ  SNMP 
.    จะคอยตรวจสอบอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่สื่อสารอยู่บน  SNMP
.     จะคอยตรวจสอบโปรแกรมที่ใช้ในการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก
.     จะคอยตรวจสอบโปรโตคอลที่ใช้ในการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก
.      ถูกทุกข้อ


3.MIB  ย่อมมาจากคำว่าอะไร
.   Memory  Information  Base
.   Memory  Interface  Bridger
.   Management  Interface  Base
.    Management  Information  Base


4. โปรแกรมรักษาควมปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิทธิหรือลำดับความสำคัญจะถูกแบ่งเป็นกี่ระดับ
.     2     ระดับ
.     3     ระดับ
.     4    ระดับ
.     5     ระดับ


5.  การป้องกันกระแสไฟฟ้ามีอุปกรณ์หลักกี่ชนิด
.    2   ชนิด
.    3   ชนิด
.    4   ชนิด
.     5   ชนิด


6.  ประเภทของการสำรองข้อมูลมีกี่ประเภท
.      2       ประเภท
.      3       ประเภท
.      4       ประเภท
.      5       ประเภท


7.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการในการสำรองข้อมูลในเน็ตเวิร์ก
.     Full  Backup
.     Incremental  Backup
.     Backup  Combinations
.     Database


8.   Full  Backup  เป็นการคัดลอกไฟล์และไดเร็กทอรี่ทั้งหมของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำด้กี่ทาง
.      2      ทาง
.      3      ทาง
.      4      ทาง
.      5      ทาง


9.   UPS   ย่อมาจากคำว่าอะไร
.    Use  Protection  Supply
.    User  Protection
.    Uninterupted  Power  Supply
.     Uninterupted  Publie  Server


10.   ม้าโทรจัน  (Trojan  Horses)   เป็นไวรัสประเภทใด
.    ประเภททำลายตัวเอง
.    ประเภทปาย
.    ประเภทกลายพันธุ์
.     ประเภทก่อกวน



เฉลย





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น