วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 10 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่  10  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบทดสอก่อนเรียน บทที่  10
1.  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกมีกี่ประเทศ
ก.  6  ประเภท                                                                                        ข.  7  ประเภท
ค.  8   ประเภท                                                                                       ง.   9   ประเภท
2. 
Knowledge  Processing  คืออะไร
ก.   การประมวลผลแยกส่วน
ข.  การประมวลผลรวม
ค.  การประมวลผลความรอบรู้
ง.  ถูกทุกข้อ
3.  ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว  10  ประเทศ มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าถึงกี่เปอร์เซ็นต์
ก.   80%                                                                                               ข.  85  %
ค.   90  %                                                                                               ง.  95   %
4. ผลกระทบในทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่ประเทศ
ก.  6  ประเภท                                                                                        ข.  5  ประเภท
ค.  8   ประเภท                                                                                       ง.   7   ประเภท
5.  บริษัทไอบีเอ็มสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อนำออกมาจำหน่ายไห้กับหน่อยงานธุรกิจ   คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงเปลี่ยนมาเน้นในเรื่องใด
ก. การรวบรวมข้อมูล          
ข. การแยกข้อมูล
ค. การแสดงข้อมูล
ง. การประมวลผลข้อมูล     
6. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือ  CAI  ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก.  Computer  Assisted  Instruction
ข.  
Computer  Access  Instruction
ค.  
Computer   Assisted  Inetrnational
ง.  
Computer  Access  Inetrnational
7.บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์สำเร็จในปีใด
ก.   พ.ศ.  2517                                        ข.  พ.ศ.  2518
ค.   พ.ศ. 2519                                                                                      ง.   พ.ศ.  2520
8. อีดีไอ  (EDI)  ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก.  Electronic  Data  Instruction
ข. 
Electronic  Data  Interchange
ค. 
Electronic  Data  Interschool
ง.  
Electronic  Data  International
9.  เมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ  เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้  หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่  แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่าอะไร
ก.  Education On Demand
ข. 
On Demand
ค. 
Education On Hand
ง. 
On Hand
10.  ถ้าเลือกเรยนตามต้องการได้  การตอบสนองความต้องการคือระบบได
ก.  Education On Demand
ข. 
On Demand
ค. 
Education On Hand
ง. 
On Hand

เฉลย
                                                 



                                  
บทที่  10  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
           การขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถในการใช้งาน เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง มีการประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง จนกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในอดีต สหรัฐฯ เป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตทางด้านการเกษตรเป็นสินค้าหลัก ต่อมา เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตเป็นประเทศอุตสาหกรรม ปริมาณสัดส่วนของสินค้า ด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันโครงสร้างการผลิตของสหรัฐฯ เน้นไปที่ธุรกิจการให้บริการ และการใช้สารสนเทศกันมาก ทำให้สัดส่วนการผลิตสินค้า เกษตรลดลงไม่ถึง 5% ของสินค้าทั้งหมด ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมก็มีมูลค่าน้อยกว่า อุตสาหกรรมบริการ ซึ่งใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก หากมองภาพการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารทั่วไปของโลก ปัจจุบันมูลค่า ของสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศที่พัฒนา แล้ว 10 ประเทศมีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากถึงกว่า 90% ของปริมาณการใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว 10 อันดับ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และแอฟริกาใต้ ถ้าพิจารณาบริษัทผู้ผลิตสินค้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่า ประเทศผู้ผลิต เพื่อส่งออกขายมีเพียงไม่กี่ประเทศ ประเทศเหล่านี้ส่วนมากมีเทคโนโลยีของตนเองมี การค้นคิด วิจัยและพัฒนาสินค้าให้ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา จากความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ มี ขนาดเล็กลง แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้น และมีราคาถูกลงจนผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อมา ใช้ได้ จนแทบกล่าวได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีส่วนในทุกบ้าน เพราะเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ 
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารได้สร้างประโยชน์ อย่างใหญ่หลวงต่อวงการทางธุรกิจ ทำให้ทุกธุรกิจมีการลงทุน ขยายขอบเขตการให้บริการ โดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น กลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสการขยายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ กว้างขวางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สังคมโลกเป็นสังคม แบบไร้พรมแดน การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัว สูงมาก จนกล่าวได้ว่าเป็นอัตราการขยายตัวแบบทวีคูณ จนเชื่อแน่ว่าภายในระยะเวลาอีก ไม่นาน ผู้คนบนโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้หมด
ผลกระทบในทางบวก
ผลกระทบในทางบวกหากย้อนยุคไปในอดีตตั้งแต่การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้น เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้น การออกแบบเพื่อเป็นเครื่องจักรช่วยคำนวณเพื่อให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มี ความยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ๆ ของโลกส่วน ใหญ่สร้างในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณทำให้เกิดการค้นคว้าทางวิชาการ เช่น การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การแก้สมการหลาย ๆ ชั้นที่มีตัวแปรจำนวนมาก การนำ คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณทางสถิติ ช่วยทำให้การสำรวจสำมะโนประชากรทำ ได้รวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณทำให้เกิด การพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวแปล ภาษาที่เน้นการคำนวณเป็นหลัก เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานคำนวณในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น การคำนวณมวล ของอากาศที่เคลื่อนไหวบนผิวโลก ทำให้เกิดการ พยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้ ในช่วงหลังจากปี พ.. 2500 การดำเนินงานในวงการธุรกิจต้องการใช้เครื่องจักร ช่วยมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มาเน้นในเรื่องการประมวลผลข้อมูล (data processing) การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาทำให้เป็นสารสนเทศ มีการพัฒนาตัว แปลภาษาที่เหมาะสมกับงานประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ภาษาโคบอลเป็นภาษาที่เหมาะ กับการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลข้อมูลและยังคงนิยมต่อมา

งานทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลข้อมูลที่มี จำนวนมาก เช่น ช่วยคำนวณสถิติข้อมูลของบริษัท ช่วยจัดการเรื่องข้อมูลบัญชี ข้อมูลสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบ การติดตามและการเรียกเก็บหนี้สินต่างๆ คอมพิวเตอร์ ยังมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในวงการธุรกิจ หลังจากที่บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโพรเซสเซอร์สำเร็จในปี พ.. 2518 การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็เข้ามามีบทบาทในธุรกิจขนาดเล็ก และในที่สุดก็มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ยุคของการ ประมวลผล ก็ก้าวมาสู่ยุคงานสารสนเทศมีการมอง ระบบข้อมูลในรูปแบบการใช้งานที่กว้างขวางกว่าเดิม มีระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงเรียกค้นข้อมูลที่ ตอบโต้ได้ทันที ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พบว่าสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ คำนวณ แยกแยะ จัดการกับข้อมูลมีประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องการวางแผน การจัดการ การควบคุมงานในหน่วยงาน
ของตน ทำให้ผู้บริหารได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลในการ วางแผนแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศจึงแพร่กระจายไปใน องค์การเพื่อให้องค์การมีระบบการจัดการที่ใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่

ต่อมาในระยะหลังปี พ.. 2530 พบว่าระบบสารสนเทศ มีประโยชน์มาก แต่มีจุดอ่อนบางประการ เช่น สารสนเทศ ทั้งหลายที่ได้มาจากข้อมูลนั้น ยังไม่สามารถช่วยผู้บริหารตัดสิน ใจได้โดยตรง จึงเกิดความต้องการให้ได้ระบบที่ช่วยเสริมการ ทำงานของผู้บริหาร ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร มีลักษณะการรวบความรอบรู้ เกิดการประมวลผลความรอบรู้ อย่างไรก็ดี แม้จะมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานต่าง ๆ ได้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องพัฒนาให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นอีก พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานของมนุษย์ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถนำความรู้และ ประสบการณ์ต่าง ๆ มารวมไว้เป็นหมวดหมู่ วิวัฒนาการ เหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างมากมาย ซึ่งมีผู้กล่าวว่า สังคมโลกกำลังอยู่ในยุคของการปฏิวัติ ครั้งที่ 3 ครั้งแรกเกิดเมื่อมนุษย์คิดค้นวิธีการทางการ เกษตรสามารถปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเปลี่ยนการเร่ร่อน ของมนุษย์ให้มาตั้งถิ่นฐานเพื่อทำการเกษตร ต่อมาเกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมทำให้ เกิดระบบการผลิตและเกิดโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมากมาย มีการรวมกลุ่มเป็นสังคมเมือง และปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการสื่อสารที่ให้ข่าวสาร อย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกมีลักษณะไร้พรมแดน ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีมีดังนี้

       1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพื่อใช้ ในทางที่เกิดประโยชน์มากขึ้น มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้ติดต่อกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่ รวดเร็วสามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ช่วยอำนวยความ สะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องช่วย ให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ มีรายการให้เลือกชมได้มากมาย มีการ แพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ จาก ทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น การผลิตสินค้าในปัจจุบันต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่ง ในปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความ พยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์ให้เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การผลิตรถยนต์
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้น คว้าวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยต่าง ๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณ ที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่น งานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้ผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยา รักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงาน ค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูป แบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหา ข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำ ไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยต่าง ๆ มีความก้าวหน้า ยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
        4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กิจการด้านการ แพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้ว แต่ใช้คอมพิวเตอร์        
         ช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล มีเครื่อง ตรวจหัวใจที่ทันสมัย เครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่ สามารถตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่าง ละเอียด มาเครื่องมือตรวจค้นหาโรคที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วย ในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยยิ่งขึ้น มีเครื่องคอยวัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยน แปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้ อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่ง คำถามปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญ การจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อใช้ประโยชน์ได้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา เครื่องมือช่วยคนพิการต่าง ๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้น หัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ด้วย
5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้มาก การแก้ปัญหาที่ ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้า ให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลา ในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงาน เสร็จภายในเวลาไม่กี่ วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์ มาจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหาเช่น การจำลอง สภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ จำลองการไหลของของเหลว การควบ คุมระบบการจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction : CAI)และคอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สมัยใหม่เชื่อมโยงติดต่อ48
ทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียก ค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้ คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ ถือเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง
      
  6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง เทคโนโลยีจำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้า ธุรกิจต่าง ๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแส เงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรม จะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ผู้บริโภคก็มีกำลังในการจับ จ่ายใช้สอยมาก ธุรกิจโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการสื่อสารเกี่ยวข้องกัน เกิด ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่นย่อโลกให้เล็กลง โลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ทำให้ลดปัญหาใน เรื่องความขัดแย้ง สังคมไร้พรมแดนทำให้มี ความเป็นอยู่แบบรวมกลุ่มประเทศมากขึ้น
8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของกระจายระบบ ประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผล คะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบ ผลได้รวดเร็ว
ผลกระทบในทางลบ
ผลกระทบในทางลบ นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปใน ด้านต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้ สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบ ในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ผลกระทบในทางลบ มีดังนี้
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนการปล้น วางแผนการ โจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลข บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลาย อย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักเรียน การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาล เพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นใน ภาพยนตร์
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมที่มี ลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาก
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้คนตกงานมากขึ้น มีการใช้งานหุ่นยนต์ มาใช้งานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ แรงงานอาจว่างงานมากขึ้น ซึ่งความคิดเหล่านี้จะเกิดกับบุคคล บางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้า และบริการ ต่าง ๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่อง มาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายย่อมทำ ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญดังเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าว สารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ ผู้อื่นเสียหาย นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่ง จดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ ซึ่งจริยธรรม  การ ใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังกันมาก เหล่านี้จะเกิดกับบุคคล บางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนา ให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสาร ทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้า และบริการ ต่าง ๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่อง มาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือ ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายย่อมทำ ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยี สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงครามที่มี การทำลายสูงเกิดขึ้น

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่  10
1.บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์สำเร็จในปีใด
ก.   พ.ศ.  2517                                                                                     ข.  พ.ศ.  2518
ค.   พ.ศ. 2519                                                                                      ง.   พ.ศ.  2520
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือ 
CAI  ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. 
Computer  Assisted  Instruction
ข.  
Computer  Access  Instruction
ค.  
Computer   Assisted  Inetrnational
ง.  
Computer  Access  Inetrnational
3. ผลกระทบในทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่ประเทศ
ก.  6  ประเภท          ข.  5  ประเภท
ค.  8   ประเภท                                                                                       ง.   7   ประเภท
4.  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกมีกี่ประเทศ
ก.  6  ประเภท                                                                                       
ข.  7  ประเภท
ค.  8   ประเภท                                                                                       ง.   9   ประเภท
5. อีดีไอ  (EDI)  ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก.  Electronic  Data  Instruction
ข. 
Electronic  Data  Interchange
ค. 
Electronic  Data  Interschool
ง.  
Electronic  Data  International
6.  ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว  10  ประเทศ มีสัดส่วนการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าถึงกี่เปอร์เซ็นต์
ก.   80  %                                                                                               ข.  85  %
ค.   90  %                                                                                               ง.  95   %
7. 
Knowledge  Processing  คืออะไร
ก.   การประมวลผลแยกส่วน
ข.  การประมวลผลรวม
ค.  การประมวลผลความรอบรู้
ง.  ถูกทุกข้อ
8.  เมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ  เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้  หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่  แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่าอะไร
ก.  Education On Demand
ข. 
On Demand
ค. 
Education On Hand
ง. 
On Hand
10.  บริษัทไอบีเอ็มสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อนำออกมาจำหน่ายไห้กับหน่อยงานธุรกิจ   คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงเปลียนมาเน้นในเรื่องใด
ก. การรวบรวมข้อมูล
ข. การแยกข้อมูล
ค. การแสดงข้อมูล
ง. การประมวลผลข้อมูล     

เฉลย
                                                      
 

 

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การพัฒนาเว็บบล็อก (Webblog) วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา 3204-2010 (wichitar.blogspot.com)


แบบนำเสนอขออนุมัติโครงการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
ชื่อโครงการ การพัฒนาเว็บบล็อก (Webblog) วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
               รหัสวิชา
3204-2010 (wichitar.blogspot.com)
ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 15 ตุลาคม 2555 – 15 กุมภาพันธ์ 2556
สถานที่ดำเนินการ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 732 และ 733 วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น
ประมาณการค่าใช้จ่าย 1,000  บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาววิจิตรา      วอหล้า            ชั้น  สบค.2/2         หัวหน้าโครงการ
นางสาวนิภาวรรณ  วงษ์หมั่น          ชั้น  สบค.2/2          สมาชิก

ลงชื่อ.........................................หัวหน้าโครงการ
                                                                                    (นางสาววิจิตรา   วอหล้า)
                                                                         วันที่ 26 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2555
ความคิดเห็นของครูประจำวิชา                                         ความคิดเห็นของครูที่ปรึกษาโครงการ...........................................................                                ...........................................................                                                    ..........................................................                               ...........................................................                                   ลงชื่อ.................................................                                       ลงชื่อ…………………………….................
     (นางชญานิตย์  ภาสว่าง)                                                 (นางธิดารัตน์  เบอร์คิล)                                                                                    
วันที่........เดือน...............พ.ศ.........                                    วันที่........เดือน...................พ.ศ............

ความคิดเห็นของคณะกรรมการโครงการ
............................................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................
                                     
                                                                       
ลงชื่อ........................................................................
                                                                  (นางสาวนัยนา      เจริญพล)
                                                            รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น



ชื่อโครงการ การพัฒนาเว็บบล็อก (Webblog) วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
                รหัสวิชา
3204-2010 (wichitar.blogspot.com)

ผู้รับผิดชอบโครงการ
          นางสาววิจิตรา       วอหล้า         ชั้น  สบค.
2/2 หัวหน้าโครงการ
          นางสาวนิภาวรรณ   วงษ์หมั่น       ชั้น  สบค.
2/2 สมาชิก

ระยะเวลาดำเนินการ วันที่
15 ตุลาคม 2555 – 15 กุมภาพันธ์ 2556

หลักการและเหตุผล
          เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตปัจจุบันถือกำเนิดขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี ค.ศ.
1969) โดยหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งได้ ให้การสนับสนุนงานวิจัยแก่หน่วยงาน ต่างๆ เพื่อทำการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในช่วงแรกนั้นรู้จักกันในนามของ "อาร์พาเน็ต (ARPANET)" ซึ่งเริ่มจาก การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีจุดมุ่งหมายหลักๆ คือให้คอมพิวเตอร์จากหน่วยหนึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอีกหน่วยหนึ่ง จนกระทั่งในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกนามว่า "อินเทอร์เน็ต (Internet)" และใช้นามนี้มาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้  และยังมีการใช้งานในเรื่องของการสร้างเว็บบล็อก การสื่อสารแบบออนไลน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถที่จะเข้าศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ในระบบเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง
           ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย เป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้งานของมนุษย์ เช่น เรื่องการทำเว็บบล็อก ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกเกอร์ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่เป็นโยชน์ต่อคนรุ่นต่อไป
          คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเว็บบล็อกใน วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา 3204 – 2010 เพื่อให้ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาผ่านทางเว็บบล็อกโดยมีเนื้อหาที่ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดท้ายบทซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาต่อไป
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
วัตถุประสงค์
         
1. เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (webblog) สื่อการเรียนเรื่องระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา
            
3204-2010 (wichitar.blogspot.com)
 
         2. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
         
3. เพื่ออธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนของระบบเครือข่าย

ขอบเขตการศึกษา
         
1. ใช้บล็อกด้วย Google Chrome สมัครด้วย Gmail
         
2. สร้างเว็บบล็อก (Webblog) วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา 3204-2010
          3. ในเว็บบล็อกประกอบด้วยบทเรียน 10 บท ดังนี้
                   บทที่
1. หลักการเบื้องต้นของการสื่อสาร
                   บทที่
2. ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล
                   บทที่
3. มาตรฐานและเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย
                   บทที่
4. การขนส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
                   บทที่
5. โปรโตคอล
                   บทที่
6. อุปกรณ์การขนส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
                   บทที่
7. การออกแบบเน็ตเวิร์ก
                   บทที่
8. การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
                   บทที่
9. การติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล
                   บทที่
10. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
         
4. แบบทดสอบก่อน – หลังเรียน และแบบฝึกหัดท้ายบท

เป้าหมายเชิงปริมาณ
          การพัฒนาเว็บบล็อก (
Webblog) วิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา
3204 – 2010  จำนวน 1 วิชา เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียน – นักศึกษาระดับ ปวช. 3 จำนวน 100 คน วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น

เป้าหมายเชิงคุณภาพ
          ให้นักเรียน – นักศึกษา ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย สามารถเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าได้ด้วยคนเอง

พื้นที่การดำเนินการ
          ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
732 และ 733 วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น

ตารางการดำเนินงาน


 
ค่าใช้จ่าย
- ค่าพิมพ์งาน     500  บาท
- ค่ากระดาษ      300  บาท
- ค่าอื่น ๆ          200  บาท
  รวม              1
,000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. ได้บล็อกเกอร์เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย รหัสวิชา
              3204 – 2010 (wichitar.blogspot.com)
          2. ได้ทำให้นักศึกษา รู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนของระบบเครือข่าย
          3. ได้อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนของระบบเครือข่าย

ปัญหาและอุปสรรค          -
การติดตามและการประเมินความพึงพอใจ
          ใช้แบบสอบถามการประเมินความพึงพอใจ

บทที่ 9 การติตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล


บทที่  9  การติตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล

แบบทดสอบก่อนเรียนบทที่  9
1.ระบบเครือข่ายแบบ  Twisted – Pair  Ethernet  เป็นระบบเครือขายที่ทำการติดตั้และตรวจสอบระบบเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์ใดเป็นศูนย์กลาง
ก. LAN                                                                                                ข. Hup
ค. Router                                                                                          
ง. UTP
2.  จากข้อที่  1  สามารถแบ่งออกเป็นกี่มาตรฐาน
ก.  4  มาตรฐาน                                                                                   
ข.  3   มาตรฐาน
ค. 
2   มาตรฐาน                                                                                 
ง.  1    มาตรฐาน
3.  หัว  RJ45  คืออุปกรณ์อะไร
ก.  เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ข.  เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย 
UTC
ค.  เป็นหัว 
Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ง.  เป็นหัว 
Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTC
4. วิธีการตรวจเซ็กสาย   UTP  ที่เข้าขั้วต่อ  RJ45  มีกี่วิธี
ก. 
1  วิธี                                                                                                ข. 2   วิธี
ค. 
3  วิธี                                                                                                ง. 4   วิธี
5.  การติดตั้งแลนการ์ด  มี    2   วิธี คือ
ก.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Windows,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ข.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Msn- Office,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ค.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Windows,  แบบติดตั้งดดยเครื่องจักรกล
ง.  แบบอัติโนมัติโดยระบบ 
Msn- Office,  แบบติดตั้งดดยเครื่องจักรกล
6.  การใช้ทรัพยากรร่วมกันทำได้โดยวิธีการใด
ก. การจัดกลุ่ม(Grouping) 
ข.  การจัดกลุ่มงาน  (Workgroup)
ค.  การแชร์ทรัพยากร  (
Sharng)
ง.   ถูกทุกข้อ

7.   ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T  มีความยาวสูงสุดระหว่าง  Hub  กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกินเท่าไร
ก.   
10   เมตร 
ข.   100  เมตร
ค.  
150  เมตร                                                                                       ง.    200  เมตร
8.  จำนวน   Hub  ที่ใช้ใน  1  เครือข่ายจะมีได้ไม่เกินกี่ตัว
ก.  
5   ตัว
ข.  
8   ตัว
ค. 
10  ตัว                                                                                             ง.   12  ตัว
9. การเข้าสายสัญญาณชนิดไขว้สาย  เรียกว่า
ก.  การครอสโอเวอร์  (
Crossover)                                                  
ข.  การสวิตซ์  (
Switch)
ค.  การรีโหม(
Remode)                                                                               

ง.   ถูกทุกข้อ
10.  NetWork  Interface Card  หรือ NIC   นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าอะไร
ก. 
Switch  Card                                                                                
ข.   Hub  Card
ค.  
LAN  Card                                                                                  
ง.   RJ45  Connector


หน่วยที่ 9
การติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายและโปรโตคอล

รูปแบบการต่อระบบเครือข่ายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน  แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป  แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะวิธีการต่อระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้ในบ้าน  องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ  ไป  ได้แก่  ระบบเครือข่ายแบบ  Twisted-pair  Ethernet  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย  ใช้ฮับ  (Hub)  เป็นศูนย์กลาง  แบ่งออกเป็น  2  มาตรฐาน
1.     มาตรฐาน  10  Base-T  เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล  10  เมกะบิตต่อวินาที  (10 
MB/Sec)
2.     มาตรฐาน  100  Base-T  เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล  100  เมกะบิตต่อวินาที 
(100 MB/Sec)  ราคาอุปกรณ์สนับสนุนมาตรฐานนี้จะสูงกว่าแบบแรงมาก
1.  การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T
        การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ  10  Base-T  ใชการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบดาว  (Star)  อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนี้  ได้แก่
        รูปแบบการต่อระบบเครือข่ายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน แต่ละแบบจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะวิธีการต่อระบบเครือข่ายที่เป็นที่นิยมใช้ในบ้าน องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบ Twisted-pair Ethernet เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย ใช้ฮับ (Hub) เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน
1.  มาตรฐาน 10 Base-T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที (10 MB/Sec)
2.  มาตรฐาน 100 Base-T เป็นมาตรฐานที่มีความเร็วในการส่งข้อมูล 100 เมกะบิตต่อวินาที (100 MB/Sec) ราคาอุปกรณ์สนับสนุนมาตรฐานนี้จะสูงกว่าแบบแรกมาก
การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T
        การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T ใช้การเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบดาว (Star) อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนี้ ได้แก่
        1.  สายเคเบิ้ลแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือเรียกว่า สาย UTP
        2.  การ์ดแลน (NIC) ที่ใช้หัวข้อต่อ (Connector) แบบ RJ45
        3.  หัว RJ45 (RJ45 connector) เป็นคอนเนกเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสายเคเบิ้ล UTP
        4.  ฮับ (Hub) หรือสวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อสาย UTP ที่ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
        ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ 10 Base-T
        1.  จำนวนสูงสุดของเซกเมนต์สามารถต่อได้ 5 เซกเมนต์
        2.  ความยาวสูงสุดระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไม่เกิน 100 เมตร
        3.  จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายต่อ 1 เซกเมนต์เท่ากับ 512 ตัว
        4.  จำนวนฮับที่สามารถวางซ้อนกันได้ไม่เกิน 4 ตัว
        5.  จำนวนฮับที่ใช้ในเครือข่าย 1 เครือข่าย ไม่เกิน 12 ตัว
วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
        1.  นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านออกยาวประมาณ 3 เซนติเมตร เมื่อปอกแล้วจะพอเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลียวแยกสีไว้อย่างชัดเจน
        2.  คลายเกลียวที่สายออก แล้วเรียงสายตามสีที่กำหนด การเชื่อมต่อสายสัญญาณเราสามารถแบ่งได้ 2 วิธี คือ
                2.1  การเชื่อมต่อสายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้ากับ Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้านรูปแสดงการเรียงสีของสาย UTP ชนิดที่เชื่อต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps
2.2   การเชื่อมต่อสายสัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์ต่อแบบนี้จะมีการเรียงเพื่อเข้าขั้ว RJ45 แบบไขว้สาย
        3.  เมื่อเรียงสายตามสีในขั้นตอนที่ 2 แล้วตัดสายให้เหลือประมาณ 1.5 ซ.ม.
        4.  เสียบสาย UTP ที่ตัดและเรียงสีไว้แล้วเข้าไปในขั้วต่อ RJ45 โดยให้หมายเลขสายที่เรากำหนดไว้ตามขั้นตอนที่ 2 ตรงกับหมายเลขขั้ว RJ45
        5.  เสียบขั้ว RJ45 เข้าไปในร่องคีม ดันสาย UTP ให้สนิทอีกครั้ง แล้วใช้เมือบีบด้ามคีมให้แน่นโลหะทองเหลืองของขั้ว RJ45 จะเข้าไปสัมผัสกับเส้นลวดทองแดงของสาย UTP ข้อควรระวังการดึงหัว RJ45 ออกจากคีมให้ใช้มือบีบหางพลาสติกสำหรับล็อกก่อน
วิธีการตรวจเช็กสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45
1.  วิธีการตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Cable Tester UTP
        1.1  นำปลายสายทั้งสองข้างที่เข้าขั้ว RJ45 เรียบร้อยแล้วเสียบเข้าที่เครื่องมือวัด (Cable Tester UTP)
        1.2  เปิดสวิตช์ Power ของเครื่องมือวัด
        1.3  ถ้าการเข้าหัวต่อ RJ45 ถูกต้องและสายไม่ชอร์ตหรือขาด หลอดไฟ LED จะสว่างทั้ง 4 ดวงเป็นลักษณะเหมือนไฟวิ่ง
        1.4  กดสวิตช์ GND ที่เครื่องมือวัด
        1.5  หลอดไฟ LED ดวงที่สอง (ขั้นที่ 3 หรือ 6) จะดับ หลอดอื่นยังคงสว่างไนลักษณะเหมือนไฟวิ่งอยู่
        1.6  ถ้าเป็นลักษณะที่ต่างไปจากนี้ แสดงว่าอาจเข้าหัวต่อ RJ45 ไม่สนิท สายขาดใน หรือเรียงสายทั้งสองขั้นไม่ตรงกัน
2.  วิธีการตรวจสอบสายจากการ์ดแลน (ใช้กับการ์ดแลนในรุ่นที่มีหลอดไฟ LED โชว์)
        2.1  นำสายที่เข้าหัว RJ45 แล้ว เสียบปลายทั้งสองด้านเข้าที่การ์ดแลนและ Hub
        2.2  เปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์และ Hub เพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าอุปกรณ์ทั้งสอง
        2.3  ถ้าหลอด LED ที่เขียนว่า Link สว่าง แสดงว่าการเข้าหัว RJ45 และสายปกติ
วิธีการติดตั้งการ์ดแลน (Network Interface Card : NIC)
        การ์ดแลน (Network Interface Card : NIC) นิยมเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าการ์ดแลน (LAN Card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องอื่น ๆ การติดตั้งจำเป็นต้องเสียบการ์ดแลนลงไปในช่องเสียบ (Slot) ซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
        การเตรียมก่อนการติดตั้ง
        1.  ปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down ปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์
        2.  ถอดปลั๊กไฟออกให้หมด เพื่อความปลอดภัย
        3.  เสียบการ์ดแลนลงในช่องเสียบให้ถูกต้องกับชนิดของการ์ดแลนและช่องเสียบ
        4.  ต่อสายแลนเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย
        การติดตั้งโปรแกรมการ์ดแลน
1.  การติดตั้งการ์ดแลนโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP แบบอัตโนมัติ
        1.1  หลังจากปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down ปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ถอดปลั๊กไฟออกให้หมด เพื่อความปลอดภัยและทำการเสียบการ์ดแลนลงในช่องเสียบให้ถูกต้องกับชนิดของการ์ดแลนและช่องเสียบ
        1.2  เปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ รอสักครู่หนึ่งโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP ก็จะทำการค้นหาและติดตั้งการ์ดแลนโดยอัตโนมัติ ดังรูป
        1.3  โปรแกรมจะทำการค้นหาไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ ให้คลิกปุ่ม Next
        1.4  เลือกตัวเลือก Yes จากนั้นคลิกปุ่ม Next
2.  ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลนโปรแกรมปฏิบัติการ Windows XP แบบกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง
ขั้นตอนการติดตั้งการ์ดแลนตามตัวอย่างนี้ให้กับการติดตั้งในระบบปฏิบัติการ Windows 98 แบบกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง
        2.1  คลิกปุ่ม Start > Control Panel และดับเบิ้ลคลิกไอคอน Add Hardware
        2.2  คลิก Next เพื่อค้นหารายการอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง Driver สำหรับใช้งาน
        2.3  โปรแกรมจะทำการค้นหาไดรเวอร์โดยอัตโนมัติ ให้คลิกปุ่ม Next
        2.4  เลือกตัวเลือก No จากนั้นคลิกปุ่ม Next
        2.5  เลือกรายการอุปกรณ์ที่ต้องการติดตั้งจากรายการ Install hardware ในที่นี้คือการ์ดแลนด์ และคลิก Next
        2.6  เลือกรายการอุปกรณ์การ์ดแลนด์ ให้ตรงกับรุ่นที่ติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์และคลิกปุ่ม Finish
3.  สำหรับในการติดตั้งอุปกรณ์ในระบบปฏิบัติการ Windows XP นั้น  ระบบสามารถติดตั้ง Drier แบบ Compatible กับรุ่นของอุปกรณ์นั้นแทนสามารถใช้งานได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงควรติดตั้ง Driver ให้ตรงกับรุ่นที่ใช้งานจริงด้วยการ Update Driver ดังขั้นตอนต่อไปนี้
        3.1  เปิดไอคอน System ในหน้าต่าง Control panel และคลิกปุ่ม Device Manager
        3.2  จากหน้าต่าง Device Manager เลือกรายการอุปกรณ์ที่ต้องการ Update ในที่นี้คืออุปกรณ์ Network adapters คลิกขวาที่รายการและเลือก Update Driver…
        3.3  คลิกเลือก Install from a list or specific location (Advanced) และคลิกปุ่ม Next
        3.4  เลือกรายการ Update Driver โดยการให้ค้นหาเองอัตโนมัติในแผ่น CD-ROM โดยเลือก Search removable media หรือระบุตำแหน่ง path ของ Driver ด้วย Include this location search และคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือก path
        3.5  ระบบจะค้นหา Update Driver ใหม่ จากการค้นหาในแผ่น CD-ROM หรือ path ที่ระบุไว้ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอน
4.  หลังจากที่ได้ติดตั้งการ์ดแลนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายอื่น ๆ ต้องทำการติดตั้งโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายนั้นให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถติดต่อกับเครือข่ายนั้นได้ ซึ่งโดยปกติในการติดต่อกับอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล TCP/IP หากต้องการโปรโตคอลอื่น ๆ สามารถติดตั้งเพิ่มได้ดังนี้
        4.1  จากหน้าต่าง Network Connections เลือก Connection ของการ์ดแลนที่ต้องการเพิ่มโปรโตคอลแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือกรายการ Properties
        4.2  คลิกปุ่ม Install จะปรากฏหน้าต่าง Select Network Component Type เพื่อเลือก Component m ต้องการติดตั้งเพิ่มเติม ซึ่งเราต้องการเพิ่มเต็มโปรโตคอลใหม่ ให้เลือก Protocol แล้วคลิกปุ่ม Add…
        4.3  เลือกโปรโตคอลที่ต้องการเพิ่มเติม เช่น ต้องการเพิ่มโปรโตคอล IPX/SPX/NetBIOS แล้วคลิก OK
        4.4  ระบบ Windows XP จะมีโปรโตคอล IPX/SPX/NetBIOS เพิ่มเติมเพื่อใช้ติดต่อกับระบบเครือข่ายเดียวกับ IPX/SPX อื่นได้

การติดตั้งค่า IP Address ของการ์ดแลน
1.  หลังจากทำการติดตั้ง Lan Card ตามคู่มือของ Lan Card จากหน้าต่าง Network Connections เลือก Connection ของการ์ดแลนที่ต้องการเพิ่มโปรโตคอลแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือกรายการ Properties เลือกรายการ Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกปุ่ม Properties
2.  จากหน้าต่างด้านล่างเราสามารถสร้าง IP Address ได้ 2 แบบด้วยกันคือการใช้ระบบ DHCP คือจะเป็นการให้ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อหน้ากำหนดหมายเลข IP Address ให้อัตโนมัติหรือวิธีที่ 2 กำหนดหมายเลข IP Address แบบคงที่ ดังในตัวอย่างกำหนดเป็นหมายเลข 192.168.0.11
        โดย IP Address แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องที่ 1 เป็น 192.168.0.1 เครื่องที่ 2 เป็น 192.168.0.2 เครื่องที่ 3 เป็น 192.168.0.3 ไปเรื่อย ๆ  แต่ค่า Subnet Mask ให้เหมือนกันทุกเครื่องค่าของ IP Address ใช้ค่าอะไรก็ได้ที่อยู่ในช่วงของ Private IP Ranges The Private IP Ranges That Will Not be Allocated on the Internet are : 10.0.0.0 to 10.255.255.255 Class A 172.16.0.0 to 172.31.255.255 Class B 192.168.0.0 to 192.168.255.255 Class C Do Not Choose an IP Range That is Not on This list. Also Note That 0 and 255 are Reserved in Any Cass. แล้วที่สำคัญอย่าลืมที่ Workgroup ของทุกเครื่องต้องเป็นชื่อเดียวกัน ถ้าเป็นคนละชื่อจะมองไม่เห็นกัน
3.  หรือเข้าดูที่ Stat > Search
4.  Click ที่ Computer or people และเลือก A computer on the network
5.  พิมพ์ชื่อคอมพิวเตอร์ที่ต้องการค้นหา เช่น 517-03 แล้วคลิกปุ่ม Search
6.  หากค้นหาพบจะปรากฏไอคอนคอมพิวเตอร์ที่ต้องการค้นหา
        ถึงเครื่องจะมองเห็นกันแล้ว แต่การจะใช้ Files, Driver, Printer ร่วมกันได้ เราต้องทำการ Sharing ก่อนหมายเหตุ  ในขั้นตอนต่าง ๆ อาจมีการสั่งให้ Restart หรือ ต้องการแผ่น CD-ROM Windows ด้วย
การตรวจสอบระบบเครือข่าย TCP/IP Protocol
1.  Click ขวา ที่ My Computer เลือก Properties --> Device Manager
     ดูว่า Lan Card ที่เราติดตั้งมีเครื่องหมาย ! อยู่ข้างหน้าหรือเปล่า ถ้ามี ให้ Remove แล้ว Setup ใหม่
2.  การ Ping IP Address ของตัวเอง [ในที่นี้คือ 192.168.0.1] ถ้าไม่มีการตอบกลับ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ Network Card เช่น IRQ, IO Address
3.  การ Ping IP Address ของเครื่องอื่น [เช่น 192.168.0.3] ถ้าไม่มีการตอบกลับ แสดงว่าเครื่อง 092.168.0.3 เสีย หรือ ปิดอยู่
4.  ถ้ามีการตอบกลับก็แสดงว่าปกติ
5.  หรือกรณีอาจมีปัญหากับสาย
Cable หรือ ขั้ว BNC หลวม คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบความจริงแล้วมีมากกว่านี้ [ดูข้างล่าง]
การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
        การแชร์ทรัพยากร (Sharing) คือ การกำหนดทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถใช้ร่วมกับผู้อื่นในเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์โฟลเดอร์ การแชร์ไฟล์ การแชร์เครื่องพิมพ์ หรือการแชร์ทรัพยากรอื่น ๆ
        ขั้นตอนการแชร์ข้อมูล
        1.  คลิกขวาที่ Start เลือกคำสั่ง Explore
        2.  คลิกขวาที่โฟลเดอร์ที่เลือกเพื่อแชร์ข้อมูล จะปรากฏเมนูลัด คลิกที่ Sharing
        3.  คลิกปุ่ม Share this folder on the network และระบุชื่อของโฟล์เดอร์ในการ Share ให้เครื่องอื่น ๆ มองเห็นได้ เช่น DataFile ซึ่งเป็นชื่อเดียวกบโฟลเดอร์ที่ทำการ Share
        4.  ให้สังเกตง่าย ๆ ว่าโฟลเดอร์ใดมีการแชร์ข้อมูลในเครือข่าย ตรงไอคอนของโฟลเดอร์นั้นจะมีรูปมืออยู่ด้านล่าง ดังตัวอย่าง การแชร์ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะเลือกแชร์เป็นบางไฟล์ บางโฟลเดอร์ หรือแชร์ทั้งหมดก็ได้
        การยกเลิกการแชร์ข้อมูล
        ถ้าต้องการยกเลิกการแชร์ข้อมูล หรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นในเครือข่ายเข้ามาใช้ไฟล์ร่วมกัน มีวิธีดังนี้
        ที่ไดอะล็อกบ็อกซ์ Properties ในช่องแท็บ Sharing ให้คลิกตัวเลือก Not Shared และคลิกปุ่ม OK (รูปมืออยู่ด้านล่างของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นก็จะหายไป)
Network Neighborhood
        My Network Places ใช้สำหรับการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายเครือข่ายในสำนักงานเดียวกัน หรือที่เรียกว่า Lan เพื่อจะได้ถ่ายโอนข้อมูลหรือใช้โปรแกรมร่วมกันได้อย่างสะดวก ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์สำคัญคือ Lan Card ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง และเชื่อมต่อสายรับ-ส่งข้อมูลให้ต่อถึงกันหมดทุกเครื่อง
        การใช้ My Network Places
        1.  คลิกที่ไอคอน My Network Places > Microsoft Windows Network จะปรากฏชื่อของกลุ่มเครือข่ายที่พบในระบบทั้งหมด จากนั้นคลิกชื่อกลุ่มเครือข่าย ที่ต้องการหากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนั้นเปิดอยู่ก็จะพบและเข้าใช้งานในโฟลเดอร์ที่ Share ไว้ได้
สรุป
        การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในบ้าน องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางทั่ว ๆ ไป ได้เช่าระบบเครือข่าย Twisted-pair Enternet เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบง่าย ๆ ใช้ฮับ (Hub) เป็นศูนย์กลาง แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน
1. มาตรฐาน 10 Base-T 2. มาตรฐาน 100 Base-Tอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ ได้แก่
        1.  สายเคเบิ้ลแบบ UTP (Unshielded Twisted Pair)
        2.  การ์ดแลน ที่ใช้หัวต่อแบบ RJ45
        3.  หัวต่อ RJ45 (RJ45 Connector)
        4.  ฮับ (Hub) หรือ สวิตช์ (Switch)
        การเชื่อมต่อระบบสามารถให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้โดยการแชร์ทรัพยากร (Sharing) เช่น การแชร์โฟลเดอร์ การแชร์ไฟล์ การแชร์เครื่องพิมพ์หรือทรัพยากรอื่น ๆ
 

 





จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
1.     ระบบเครือข่ายแบบ Twisted – Pair  Ethernet  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำการติดตั้งและตรวจสอบระบบเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์ใดเป็นศูนย์กลาง
ก.     LAN
ข.     Hub
ค.     Router
ง.      UTP
2.     จากข้อที่ 1  สามารถแบ่งออกเป็นกี่มาตรฐาน
ก.     4  มาตรฐาน
ข.     3  มาตรฐาน
ค.     2  มาตรฐาน
ง.      1  มาตรฐาน
3.     หัว RJ-45  คืออุปกรณ์อะไร
ก.     เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ข.     เป็นคอนเน็กเตอร์สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UPC
ค.     เป็นหัว  Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UTP
ง.      เป็นหัว  Hub  สำหรับในการต่อเข้ากับสาย  UPC
4.     วิธีการตรวจเช็กสาย  UTP  ที่เข้าขั้วต่อ  RJ-45  มีกี่วิธี
ก.     1 วิธี
ข.     2 วิธี
ค.     3 วิธี
ง.      4 วิธี
5.     การติดตั้งแลนการ์ด  มี  2  วิธี  คือ
ก.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  Windows,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ข.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  MS-Office,  แบบติดตั้งด้วยตนเอง
ค.     แบบอัตโนมัติโดยระบบ  Windows,  แบบติดตั้งโดยเครื่องจักรกล
ง.      แบบอัตโนมัติโดยระบบ  MS-Office, แบบติดตั้งโดยเครื่องจักรกล
6.     การใช้ทรัพยากรร่วมกันทำได้โดยวิธีการใดบ้าง
ก.     การจัดกลุ่ม  (Grouping)
ข.     การจัดกลุ่มงาน  (Workgroup)
ค.     การแชร์ทรัพยากร  (Sharing)
ง.      ถูกทุกข้อ
7.     ข้อจำกัดของระบบเครือข่ายแบบ  10  Base – T  มีความยาวสูงสุดระหว่าง  Hub  กับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกินเท่าไร
ก.     10  เมตร
ข.     100  เมตร
ค.     150  เมตร
ง.      200  เมตร
8.     จำนวน  Hub  ที่ใช้ใน  1  เครือข่ายจะมีได้ไม่เกินกี่ตัว
ก.     5  ตัว
ข.     8  ตัว
ค.     10  ตัว
ง.      12  ตัว
9.     การเข้าสายสัญญาณชนิดไขว้สาย  เรียกว่า
ก.     การครอสโอเวอร์  (Crossover)
ข.     การสวิตซ์  (Switch)
ค.     การรีโหมด  (Remode)
ง.      ถูกทุกข้อ
10.Network  Interface  Card  หรือ  NIC  นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าอะไร
ก.     Switch  Card
ข.     Hub  Card
ค.     LAN  Card
ง.      RJ-45  Connector
11.การทำงานของ  Multiplexer  มีกี่วิธี
ก.     2  วิธี
ข.     3  วิธี
ค.     4  วิธี
ง.      5  วิธี
12.วิธี  TDMA  เป็นวิธีการแบบใด
ก.      จะแบ่งช่องทางการสื่อสารให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละช่วงเวลา
ข.     จะแบ่งช่องของเฟรมข้อมูลให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละช่วงเวลา
ค.     จะแบ่งช่องทางการสื่อสารให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละเครือข่าย
ง.      จะแบ่งช่องของเฟรมข้อมูลให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละเครือข่าย
13.ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์  มีกี่ข้อ
ก.     2  ข้อ
ข.     3  ข้อ
ค.     4  ข้อ
ง.      5  ข้อ
14.หน้าที่หลักของบริดจ์  คือ
ก.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากโหนดหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง
ข.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากเครื่องหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ค.     ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งเพื่อส่งไปยังอีกพอร์ตหนึ่ง
ง.      ขยายระดับความแรงของสัญญาณที่ได้รับจาก  LAN  หนึ่งเพื่อส่งไปยังอีก  LAN  หนึ่ง
15.ฮับ  (Hub)  มีหน้าที่อะไร
ก.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์และเซิร์ฟเวอร์
ข.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์
ค.     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างพอร์ตและพอร์ต
ง.      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์และพอร์ต


เฉลย